หัวข้อบทความ
ต่อเติมห้องหน้าบ้าน จะทำให้หน้าบ้านแคบจนไม่มีที่จอด…จริงหรือ?
การต่อเติมห้องยังคงเป็นทางเลือกสำหรับใครหลายคน ที่อยากปรับปรุงบ้านให้ดีขึ้น แม้แต่การต่อเติมห้องหน้าบ้านของทาวน์โฮม ก็ยังเป็นทางเลือกสำหรับใครที่อยากเพิ่มห้องบริเวณหน้าบ้าน อาจเพราะต่อห้องหลังบ้านไปแล้ว เลยอยากขยายมาหน้าบ้านอีก หรือห้องหลังบ้านแคบเกินจะต่อ เลยอยากเพิ่มหน้าบ้าน ซึ่งจะขยายได้ดีกว่า โดยจะเพิ่มในโซนอื่นๆ เช่น อาจเพิ่มในส่วนของห้องเก็บอะไหล่รถยนต์ ห้องเก็บอุปกรณ์จัดสวน หรือห้องอเนกประสงค์สำหรับดื่มกาแฟ หรือจะเพิ่มมุมผู้สูงอายุสำหรับใครมีผู้ใหญ่ในบ้าน แต่ก็มีข้อถกเถียงไม่น้อยว่า…ต่อแล้วจะไม่มีที่จอดรถ จริงหรือ?
จริงหรือ? ต่อเติมห้องหน้าบ้านทาวน์โฮม จะไม่มีที่จอดรถเลย
เรื่องการต่อเติมห้องหน้าบ้านนั้น หลายคนจะมีความกังวลในเรื่องของที่จอดรถ ถ้าเติมไปจะกินที่ไหม คำตอบคือไม่จริงเลยนะทุกคน เพราะการต่อเติมห้องหน้าบ้านจะไม่กินที่จำนวนที่จอดรถแต่เดิมที่มี ซึ่งจะเพราะอะไรนั้นไปดูกันเลย
-
หน้าบ้านทาวน์โฮมคือส่วนที่กว้างที่สุด
การสร้างบ้านทาวน์โฮม จะยึดข้อกฎหมายในเรื่องของที่ดินเสมอ เมื่อเราเข้าพักอาศัยปุ๊บ สิ่งแรกเลยคือ หน้าบ้านยาวกว่าหลังบ้านเสมอ หน้าบ้านทาวน์โฮมจะกว้าง 4 เมตรโดยมาตรฐาน จะไม่ต่ำไปมากกว่านี้ บางโครงการทาวน์โฮมหน้ากว้าง 5.5 เมตร ก็ยังมีเนื้อที่จอดรถได้อีกคัน เผลอๆ เนื้อที่ใช้สอยยังเหลือๆ ยังต่อเติมห้องเพิ่มอีกได้สบาย ไม่ต้องกังวลว่าจะจอดรถไม่ได้เลย
-
ส่วนของหน้าบ้านยังเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล
การต่อเติมห้องหน้าบ้าน ไม่กระทบต่อพื้นที่ส่วนกลางแน่นอน เพราะในบริเวณยูนิตที่ตนอยู่ ไม่ว่าจะกี่ชั้นก็ตาม หากไม่ได้ต่อเติมห้องจนยื่นออกมานอกรั้วบ้าน นั่นเท่ากับว่าไม่ได้กระทบต่อส่วนกลางแต่อย่างใด ขณะเดียวกันในพื้นที่ส่วนบุคคล เราสามารถต่อเติมห้องได้ตามโซนของตนเอง ไม่ต้องกลัวว่าจะเดือดร้อนใครเลย…เราจะทำอะไรก็ได้ ถูกไหม?
-
ราคาการต่อเติมห้องหน้าบ้านง่ายกว่า
สืบเนื่องจากข้อแรก อย่างน้อยใครจอดรถหน้าบ้าน ไม่ต้องกังวลว่าเดินแล้วจะเบียดบ้านตัวเองนั้น แต่การต่อเติมห้องหน้าบ้าน ยังทำได้ง่ายกว่า เนื่องจากความกว้างของหน้าบ้าน ทำให้คำนวณพื้นที่ที่เหมาะสมได้ง่ายกว่า ว่าจะใช้เนื้อที่เท่าใด และยังใช้ความคิดสร้างสรรค์มากกว่ากันมาก
“จุดสำคัญ” ที่ควรระมัดระวังในการ “ต่อเติมหน้าบ้าน ทาวน์โฮม”
หลายคนที่ไม่กล้าจะต่อเติมห้องด้วยตนเอง การต่อเติมห้องหน้าบ้านจะไม่ต่างจากการต่อเติมห้องหลังบ้าน ซึ่งต้องระมัดระวังการก่อสร้างมากพอสมควร โดยจะต้องใช้ผู้ชำนาญในการต่อเติมบ้านเข้ามา เนื่องจากทาวน์โฮมจะต้องระมัดระวังการกระทบต่อเสาเข็ม และสมดุลของโครงสร้างของบ้าน โดยมีวิธีในการตรวจจุดสำคัญในการต่อเติมหน้าบ้านของทาวน์โฮม ซึ่งการก่อสร้าง หรือแก้ไขนั้นจะต้องดูจุดสำคัญดังนี้
-
-
-
- ความเสมอของหน้าดิน : หน้าดินถือว่าสำคัญมาก ทุกครั้งที่จะต่อเติมห้องหน้าบ้าน จะต้องเกลี่ยดินให้เสมอ หรือถ้าถมแล้วหน้าดินไม่เสมอ ควรแก้ไขก่อนจะเริ่มต้นต่อเติมห้อง หรือทาวน์โฮมไหนมาแบบสำเร็จรูปแต่หน้าดินไม่เสมอกัน ให้ปูหน้าดินให้เท่ากันก่อนต่อเติมทุกครั้ง
- รอยร้าวตามรอยต่อ : ทุกการก่อสร้างจะต้องระมัดระวังรอยต่อ เนื่องจากทาวน์โฮมจะเป็นยูนิตที่สเปกงานก่อสร้างเสมอๆ กัน การเลือกวัสดุก่อสร้างจะต้องเท่ากันกับทาวน์โฮมทุกประการ จะใช้สเปกงานอื่นที่ถูกกว่า หรือต่ำกว่าไม่ได้ ฉะนั้นรอยแตกจึงเป็นสิ่งที่อันตรายมาก และกระทบต่อชีวิตประจำวันระยะยาว หากมีรอยร้าว เท่ากับว่างานไม่ดีอีกด้วย
- การวางยาแนวอุดรอยรั่ว : ข้อนี้นับว่าสำคัญเหมือนกัน ต้องเชื่อมรอยต่อด้วยคุณภาพเดียวกับทาวน์โฮมเดิม การวางยาแนวถ้าทำไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดสัตว์อื่นๆ เข้ามาตามรอยอุดรั่วที่ไม่มีคุณภาพได้
- เพื่อนบ้าน : เคยไหมที่จะทำอะไรก็ตาม เดือดร้อนเพื่อนบ้านทั้งที่เป็นเรื่องของเรา การต่อเติมห้องหน้าบ้านทาวน์โฮมนั้น จะระมัดระวังเสียงรบกวน เนื่องจากมีโซนที่ใช้ร่วมกันอยู่ เช่น กำแพงกั้นที่ห่างกันของแต่ละยูนิต จะต้องดูว่ารบกวนเพื่อนบ้านไหม ถ้ารบกวน แนะนำให้ไปเคลียร์หรือขออนุญาตก่อน
-
-
บทส่งท้าย
การต่อเติมห้องหน้าบ้านจะต้องดูให้ละเอียดเสมอ แม้ว่าจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการรีโนเวทบ้าน ทาวน์โฮมมักสร้างเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหรือละแวกใกล้เคียงที่มีรั้วรอบขอบชิด ข้อดีของการอยู่อาศัยในทาวน์โฮม ราคาย่อมเยากว่า ได้ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ร่วมกัน ยังใกล้กับเพื่อนบ้าน ข้อเสียของการอยู่อาศัยในทาวน์โฮม อยู่ที่พื้นที่เป็นตารางฟุตน้อยลง มีอิสระน้อยลงเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของบ้าน และความเป็นส่วนตัวน้อยลง ก่อนจะต่อเติมบ้านจะต้องระมัดระวังในส่วนของการรบกวนต่างๆ เช่น เสียงรบกวน หรือพื้นที่ใช้สอยบางอย่างรบกวนเพื่อนบ้าน จะต้องศึกษาข้อมูลดีๆ ก่อนลงมือทำ และที่สำคัญจะต้องใช้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำเท่านั้น รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะต้องเหมือนโครงของทาวน์โฮมทุกอย่าง เพื่อไม่ให้เสียสมดุลของฐานรากแล้ว และปลอดภัยต่อผู้อาศัยในระยะยาวอีกด้วย